1. ปวดหัว ปวดท้ายทอย ปวดต้นคอ บ่า สะบักไหล่ ปวดเป็นๆ หายๆ
2. ปวดร้าวลงแขน แขนอ่อนแรง
3. ชาปลายมือ 
หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยสาเหตุส่วนมากเกิดจากความเสื่อมสภาพหรือมีการฉีกขาดของผนังหมอนรองกระดูกร่วมกับมีการใช้งานที่ผิดท่าทางหรือผิดวิธีเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งพิมพ์งานหน้าจอคอมพิวเตอร์ การก้มเล่นโทรศัพท์มือถือหรือก้มอ่านหนังสือเป็นระยะเวลานาน เหล่านี้ส่งผลให้หมอนรองกระดูกส่วนคอต้องรับภาระที่มากขึ้นกว่าปกติ จนส่งผลให้เกิดภาวะดังกล่าวตามมาได้

อาการหมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท

อาการปวด - ซึ่งลักษณะของอาการปวดจากภาวะนี้ จะมีลักษณะปวดร้าวไปตามตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกดทับวิ่งไปเลี้ยง เช่น กรณีหมอนรองกระดูกส่วนคอระหว่างปล้องที่ 5-6 กดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจากต้นคอร้าวไปที่บริเวณนิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมือข้างนั้น ๆ เป็นต้น

อาการเสียวชา - หรือกรณีที่มีการกดทับเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวลีบ และอ่อนแรงร่วมด้วย
กระดูกเอวเสื่อม

1. ปวดหลัง ปวดเอว ปวดสะโพก หรือบริเวณขอบกางเกงใน ปวดเป็นๆหายๆ มากกว่า 2 เดือน

2. ปวดร้าวลงไปหน้าขา ปวดลงเข่า หรือหน้าแข้ง 

3. ชาลงที่ปลายเท้า หรือตึงๆ หน่วงๆที่เท้า หรือมีอาการแสบร้อน จี๊ดๆ ซ่าๆได้

4. กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินไกลไม่ได้ บางคนเดินแล้วล้มไม่รู้ตัว เนื่องจากเส้นประสาท อักเสบเสียหายมาก จากการถูกกดทับ

5. ขับถ่ายไม่ออก ปัสสาวะไม่สุด ฉี่กระปริดกระปอย มีอาการชาปลายอวัยวะ หรือสมรรถภาพเสื่อม (อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้)

เมื่อเส้นประสาทอักเสบมากๆ กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง จะทำให้เดินไม่ได้ กลายเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตได้
สาเหตุของกระดูกทับเส้น

กระดูกทับเส้นมักเกิดขึ้นเมื่อส่วนนอกของหมอนรองกระดูกแตก ทำให้กระดูกอ่อนที่อยู่ข้างในโผล่ออกมา และกดทับเส้นประสาท สาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกแตกนั้นเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกมักสูญเสียมวลน้ำ ส่งผลให้ขาดความยืดหยุ่นและแตกได้ง่าย แต่โดยทั่วไป ไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดกระดูกทับเส้นได้อย่างชัดเจน

ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่กระดูกทับเส้น

* น้ำหนักตัวมากเกินไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะทำให้กระดูกสันหลังบริเวณหลังส่วนล่างต้องแบกรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา

* แบกของหนัก ผู้ใช้แรงงานที่ต้องแบกหามสิ่งของหนักมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกทับเส้นได้ เนื่องจากการแบกของขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขา ทำให้กระดูกบิดและเคลื่อนได้

* พันธุกรรม ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นบางรายป่วยเป็นโรคนี้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

* ประสบอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอย่างตกจากที่สูง หรือได้รับการกระทบกระเทือนจากการถูกทำร้ายร่างกายบริเวณหลัง สามารถป่วยเป็นกระดูกทับเส้น แต่พบไม่บ่อยนัก

* สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกระดูกทับเส้น เนื่องจากส่งผลให้หมอนรองกระดูกสูญเสียความยืดหยุ่น